โรงเรียนเจริญวิทย์ เป็นโรงเรียนเอกชนได้รับอนุญาตให้สอนภาษาจีน ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุน
จากสมาคมครูสอนภาษาจีนแห่งประเทศไทยจากประเทศไต้หวันและสาธารณรัฐประชาชนจีน
สมัยอดีตโรงเรียนใช้หลักสูตรและตัวอักษรของประเทศไต้หวัน และมีการเรียนการสอนภาษาจีนอย่างเข้มข้น สมัยประมาณ ๓๐ – ๔๐ ปี ที่ผ่านมานักเรียนทุกคนสามารถ ฟัง พูด อ่านเขียนภาษาจีนได้ ปัจจุบันเนื่องจากสภาพแวดล้อมและสังคมเปลี่ยนแปลงไปมาก นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ภาษาจีนได้เข้มข้นโรงเรียนจึงปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนให้ง่ายขึ้น และเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔ เพื่อให้เป็นสากลนิยมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โรงเรียนจึงได้ปรับเปลี่ยนมาใช้ตัวอักษรของสาธารณรัฐประชาชนจีนโรงเรียน
เจริญวิทย์เป็นโรงเรียนเก่าแก่ ก่อตั้ง ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ อย่างไม่เป็นทางการ เปิดสอนเพียงภาษาจีน (จีนกลาง) และต่อมาขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑
พ.ศ. ๒๕๐๑ ด้วยความเสียสละแรงกายแรงใจและกำลังทรัพย์ ของคนในชุมชนได้ร่วมกันก่อตั้งโรงเรียน สหวิทยากร ขึ้นเพื่อเปิดทำการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และขยายถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมีเนื้อที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน กับโรงเรียนเจริญวิทย์ สาเหตุเพราะกฎหมายสมัยนั้นไม่อนุญาตให้โรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนขยายชั้นเรียนเพิ่มเติม ปัจจุบันกฎหมายเอื้อต่อการจัดการศึกษา โรงเรียนเจริญวิทย์และโรงเรียนสหวิทยากรจึงได้รวมกิจการเพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ แต่เนื่องจากเป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่มีเจ้าของที่แท้จริง จึงมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารบ่อยครั้ง ดังนั้นประวัติความเป็นมาของโรงเรียน ซึ่งใช้ชื่อว่า โรงเรียนเจริญวิทย์ จึงมีมากมายและได้ถูกบันทึกรวบรวมไว้ดังต่อไปนี้
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในตลาดคลองจันดี มีโรงเรียนสอนภาษาจีน แต่ไม่ได้รับอนุญาตจัดตั้งให้ถูกต้องตามกฎหมาย เปิดสอนนักเรียนในชุมชนละแวกใกล้เคียง หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง บรรดาพ่อค้า คหบดีชาวจันดีมีความเห็นสมควรตั้งโรงเรียนเพื่อให้กุลบุตร กุลธิดา ในละแวกใกล้เคียงได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนจึงได้จัดตั้งกรรมการเพื่อดำเนินการ ดังมีรายนามต่อไปนี้
- นายจูเสง แซ่ติ้ง
- นายไขฮู๋ แซ่ตั้น
- นายตี๋ แซ่อ๋อง ( นายวาทิน วศะพงศ์ )
- นายรักหมี แซ่เอี่ยว
- นายอะห้วม แซ่เหล้า
กรรมการบริหารโรงเรียนได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นโรงเรียนราษฎร์ สอนวิชาเทียบเป็นภาษาจีนกลางโดยใช้สถานที่ในตลาดคลองจันดี ซึ่งได้ก่อตั้งมาก่อนเป็นอาคารเรียนไม้ชั้นเดียว จำนวน ๒ ห้อง ต่อมามีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นทำให้โรงเรียนคับแคบ จึงคิดขยับขยายใหม่ เจ้าของและผู้จัดการพร้อมคณะกรรมการได้ดำเนินการย้ายสถานที่เรียนใหม่ชื่อ โรงเรียนเจิ้นฮั้ว และได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นโรงเรียนราษฎร์จากกระทรวงศึกษาธิการให้เปิดทำการสอนตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๑ โดยมี
- นายจิ้งกวง แซ่เอี้ยว เป็นเจ้าของ
- นายตี๋ แซ่อ๋อง เป็นผู้จัดการ
- นายไขฮู๋ แซ่ตั้น เป็นผู้จัดการ
- นายเชวลิต แซ่เลี่ยง เป็นครูใหญ่
พ.ศ. ๒๕๒๒ เปิดสอนระดับอนุบาล ๑ – ๒ ในโรงเรียนสหวิทยากร นายมนูญ เลี่ยมทอง ลาออกจากตำแหน่งครูใหญ่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนจึงแต่งตั้ง นายหรินทร์ แก่นราษฎร์ เป็นครูใหญ่
นายประเสริฐ ตันประเสริฐ เป็นประธานกรรมการบริหารโรงเรียน ในปีเดียวกันนายเชาวลิต สุรภักดี ลาออกจากตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนเจริญวิทย์ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนจึงแต่งตั้ง นายสุเทพ ธราพร เป็นครูใหญ่โรงเรียนเจริญวิทย์
พ.ศ. ๒๕๒๓ นายสุเทพ ธราพร ลาออกจากตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนเจริญวิทย์ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนจึงแต่งตั้งให้นางสาวนิตยา เจนพิริยประยูร ( นางนิตยา อภัย ) ซึ่งเป็นครูสอนอยู่ที่โรงเรียนสหวิทยากรเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ครูใหญ่ แต่เนื่องจากกฎหมายห้ามไม่ให้บุตรคนต่างด้าวเป็นครูใหญ่โรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีน ดังนั้นจึงได้แต่งตั้งให้นางสาวศิวพร ธานีรัตน์ เป็นครูใหญ่ เพื่อทำหน้าที่ในการเซ็นหลักฐานต่าง ๆ ทางราชการ ส่วนด้านการบริหารมอบอำนาจและหน้าที่แก่ นางสาวนิตยา เจนพิริยประยูร เป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการ
พ.ศ. ๒๕๒๓ นายหรินทร์ แก่นราษฎร์ ลาออก แต่งตั้งนายสมบูรณ์ กาญจนไพหาร รักษาการแทนครูใหญ่ และแต่งตั้งนายประวิทย์ รัตนสุวรรณ เป็นครูใหญ่โรงเรียนสหวิทยากรคนต่อมา
พ.ศ. ๒๕๒๔ นายประวิทย์ รัตนสุวรรณ ลาออก คณะกรรมการบริหารโรงเรียนจึงแต่งตั้ง
นางสาวจารุพรรณ ชื่นชวลิต เป็นครูใหญ่โรงเรียนสหวิทยากร
พ.ศ. ๒๕๒๔ นายวิรัช เอี่ยวสานุรักษ์ โอนโรงเรียนเจริญวิทย์ และโรงเรียนสหวิทยากรให้กับ
มูลนิธิจันดีการศึกษา มีนายพรเทพ ตันวราวุฒิกูล เป็นประธานมูลนิธิ ฯ และเป็นผู้ลงนามแทนผู้ได้รับใบอนุญาต และมีนายวิวรรธน์ ตันประเสริฐ เป็นผู้ได้รับใบอนุญาต นายสมพร ริสุขุมาล เป็นผู้จัดการ
พ.ศ. ๒๕๒๕ นางจารุพรรณ ชื่นชวลิต ถูกเรียกบรรจุข้าราชการครู จึงลาออก คณะกรรมการจึงแต่งตั้งนายอรรณพ ยอแสงรัตน์ เป็นครูใหญ่โรงเรียนสหวิทยากร
พ.ศ. ๒๕๒๕ นางสาวนิตยา เจนพิริยประยูร ถูกเรียกบรรจุเป็นข้าราชการครู จึงขอลาออกจากโรงเรียน
เจริญวิทย์ คณะกรรมการจึงแต่งตั้ง นายไกรสอน ปราบมิตร เป็นครูใหญ่โรงเรียนเจริญวิทย์
พ.ศ. ๒๕๒๖ นายอรรณพ ยอแสงรัตน์ ลาออก คณะกรรมการจึงแต่งตั้ง นายหรินทร์ แก่นราษฎร์
เป็นครูใหญ่โรงเรียนสหวิทยากร
พ.ศ. ๒๕๒๗ โรงเรียนสหวิทยากร เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ( มัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ )
พ.ศ. ๒๕๒๘ นายไกรสอน ปราบมิตร ลาออกจากโรงเรียนเจริญวิทย์ คณะกรรมการจึงแต่งตั้ง
นางวรรณี ทองกรอย (นิลมาศ ) เป็นครูใหญ่โรงเรียนเจริญวิทย์ และในปีเดียวกัน นายวิวรรธน์ ตันประเสริฐ และนายสมพร ริสุขุมาล ลาออกจากตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ มูลนิธิจันดีการศึกษาจึงแต่งตั้ง นายสมคิด ตั้งสัจจะธรรม เป็นผู้จัดการและผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเจริญวิทย์และแต่งตั้ง
นายพรเทพ ตันวราวุฒิกูล ซึ่งเป็นประธานมูลนิธิจันดีการศึกษา เป็นผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนสหวิทยากรและเป็นประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียน นายหรินทร์ แก่นราษฎร์ เป็นผู้จัดการและครูใหญ่โรงเรียนสหวิทยากร
พ.ศ. ๒๕๓๐ ยุบชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
พ.ศ. ๒๕๔๐ นายพรเทพ ตันวราวุฒิกูล ลาออกจากประธานบริหารโรงเรียนและนายหรินทร์ แก่นราษฎร์ ลาออกจากตำแหน่งครูใหญ่ มูลนิธิจันดีการศึกษา จึงเลือกตั้งนายอัครบรรณ อยู่ยรรยง เป็นประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียน และแต่งตั้ง นายเจริญ มีเสน เป็นครูใหญ่
พ.ศ. ๒๕๔๑ นายอัครบรรณ อยู่ยรรยง ลาออกจากประธานคณะบริหารโรงเรียนนายเจริญ มีเสน ลาออกจากครูใหญ่ คณะกรรมการจึงแต่งตั้งรองประธานมูลนิธิจันดีการศึกษา คือ นายวิทยา ศรีพงษ์พันธุ์กุล
เป็นประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียน และแต่งตั้งนางชลลดา กรรณวัลลี เป็นครูใหญ่ ในปีเดียวกัน
นายวิทยา ศรีพงษ์พันธุ์กุล ลาออกจากประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะกรรมการมูลนิธิจันดีการศึกษา จึงแต่งตั้งให้นายพรเทพ ตันวราวุฒิกูล รักษาการประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียน เนื่องจากใกล้หมดวาระ การเลือกตั้งคณะกรรมการมูลนิธิจันดีการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๒ นายพรเทพ ตันวราวุฒิกูล ลาออกจากประธานคณะกรรมการมูลนิธิจันดีการศึกษา
และนายหรินทร์ แก่นราษฎร์ ลาออกจากรักษาการครูใหญ่ คณะกรรมการมูลนิธิจันดีการศึกษา จึงจัดให้มีการเลือกตั้งให้ นายจีรวัฒน์ จิรัตน์ฐิกุล เป็นประธานมูลนิธิจันดีการศึกษาและเป็นผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน
สหวิทยากรได้แต่งตั้งครูใหญ่ ดังนี้คือ นายอัครินทร์ นุราช รักษาการตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมายื่นใบลาออกจากตำแหน่ง คณะกรรมการจึงแต่งตั้ง นางศรีสุดา ธราพร รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เป็นคนที่ ๒ และเชิญชวน นางนิตยา อภัย ข้าราชการบำนาญ เป็นครูใหญ่ และเป็นผู้จัดการโรงเรียนสหวิทยากร
พ.ศ. ๒๕๔๕ โรงเรียนสหวิทยากร ขอรวมกิจการกับโรงเรียนเจริญวิทย์ มีนายสมคิด ตั้งสัจจะธรรม
เป็นผู้รับใบอนุญาต และเป็นผู้จัดการโรงเรียนเจริญวิทย์ มูลนิธิจันดีการศึกษาโดยนายจีรวัฒน์ จิรัตน์ฐิกุล
เป็นประธานมูลนิธิจันดีการศึกษา เป็นกำลังสำคัญและเป็นผู้นำในการบริหารจัดการโรงเรียนนางวรรณี นิลมาศ ครบเกษียณอายุ จึงลาออก มูลนิธิจันดีการศึกษาจึงแต่งตั้งนางนิตยา อภัย เป็นครูใหญ่ และบริหารโรงเรียนเจริญวิทย์
พ.ศ. ๒๕๔๖ โรงเรียนเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ , ๔ และ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โดยการเปลี่ยนแปลงตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔
พ.ศ. ๒๕๔๗ นางนิตยา อภัย ได้ลาออกจากตำแหน่งครูใหญ่และผู้จัดการโรงเรียนเจริญวิทย์จึงแต่งตั้ง นางศรีสุดา ธราพร เป็นครูใหญ่และบริหารโรงเรียนเจริญวิทย์จนถึง พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๓ นางศรีสุดา ธราพร ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเจริญวิทย์ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนจึงแต่งตั้งให้นางนิตยา อภัย เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนเจริญวิทย์ตั้งแต่วันที่ ๖ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ จนถึง พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ศ. ๒๕๕๕ นางสาวสุวรรณา ล่องประเสริฐ อดีตศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนเจริญวิทย์ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ จนถึง พ.ศ.๒๕๖๒
พ.ศ.๒๕๖๓ นางสุภาณี สวาทะสุข ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนเจริญวิทย์ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๕๓ ก่อสร้างอาคาร ๓ ชั้น ๑๘ ห้องเรียน ( อาคารฉาย รุ่งนิรันดรกุล ) ใช้สอนระดับปฐมวัย
ซึ่งได้รับการบริจาคจากคุณฉาย รุ่งนิรันดรกุล ในวงเงิน ๒๐ ล้านบาท ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๕ ก่อสร้างอาคาร ๓ ชั้น ๑๕ ห้องเรียนใช้จัดการเรียนการสอนชั้น ป. ๑ – ป. ๓ และ
ทำพิธีเปิดวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘
พ.ศ.๒๕๖๓ ปรับปรุงอาคารอนุบาลเก่า เป็น ศูนย์การเรียนรู้อัจฉริยะพหุปัญญา โรงเรียนเจริญวิทย์ เพื่อบูรณาการการเรียนการสอนด้านต่างๆ
สถานที่ตั้งปัจจุบัน
โรงเรียนเจริญวิทย์ เลขที่ ๑๗๑ หมู่ที่ ๙ ตำบลไสหร้า อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ห่างจาก
ที่ว่าการอำเภอฉวางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เป็นระยะทางประมาณ ๔๕ กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราชประมาณ ๖๐ กิโลเมตร
ขนาดพื้นที่โรงเรียน
ปัจจุบันมีประมาณ ๓๐ ไร่ ใช้เป็นที่ตั้งอาคารเรียนอาคารประกอบการ โดยมีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ จดที่ดินนายต่อพันธุ์ คุ้มตระกูล
ทิศใต้ จดถนนจันดี – บ้านส้อง
ทิศตะวันออก จดที่ดินส่วนบุคคลตระกูลตรัยวรัญญู
ทิศตะวันตก จดที่ดินส่วนบุคคลนางศิริณา ตู้บันเทิง
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนเจริญวิทย์ |
ชื่อภาษาอังกฤษ | JAROENWIT |
ชื่อย่อภาษาไทย | จ.ว. |
จ หมายถึง เจริญ ว หมายถึง วิทยา หรือ ความรู้ |
|
แบบตราโรงเรียน | |
ตราโรงเรียน | คือ ดอกบัว ประกอบด้วย วงนอกเขียนว่า โรงเรียนเจริญวิทย์ 振华学校 จันดี – นครศรีธรรมราช วงที่สอง กลีบดอกบัว 2 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นในกลีบใหญ่ 10 กลีบ ชั้นนอกกลีบเล็ก 10 กลีบ วงที่สาม เกสรดอกบัวมีคำว่า พุทธิ จริยะ หัตถะ พละ |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน | ต้นชัยพฤกษ์ เป็นไม้มงคล ตามชื่อหมายถึงต้นไม้แห่งชัยชนะ |
ที่ตั้ง | โรงเรียนเจริญวิทย์ เลขที่ 171 หมู่ที่ 9 ตำบลไสหร้า อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ / โทรสาร 075 – 486737 E-mail: info@jaroenwit.ac.th |
ปรัชญาโรงเรียน
วินัยเด่น เน้นวิชา กีฬาดี มีคุณธรรม
อัตลักษณ์
มารยาทงาม สามภาษาเด่น เน้นกีฬาบาส
เอกลักษณ์
เป็นโรงเรียนสอนสามภาษา ของชุมชน เพื่อชุมชน โดยชุมชน
สีประจำโรงเรียน
เขียว – ขาว
ต้นไม้ประจำโรงเรียน
ต้นชัยพฤกษ์ เป็นไม้มงคล ตามชื่อหมายถึงต้นไม้แห่งชัยชนะ
ที่อยู่
โรงเรียนเจริญวิทย์ เลขที่ 171 หมู่ที่ 9 ตำบลไสหร้า อำเภอฉวาง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
โทรศัพท์ / โทรสาร 075-486737
E-mail: info@jaroenwit.ac.th
Website: www.jaroenwit.ac.th
Fanpage: www.facebook.com/JaroenwitSchool